วันจันทร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2552

Limited brands creates a superb supply chain

Limited brands creates a superb supply chain
Problem
- Limited Brands เป็นร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ (ยอดขายเกิน 10 billion ในปี 2005)
- โดยผลการควบรวมกิจการทำให้การเติบโตเป็นไปอย่างรวดเร็ว แต่ก็เผชิญกับระบบ IT และ application ที่ผสมปนเปกันและมีความซับซ้อน หลาย ๆ ส่วนไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้
- ในปี 2001 ร้านค้าปลีกเริ่มมีการแข่งกันอย่างรุนแรง ดังนั้น บริษัทได้ shift ไปสู่ high end product line เพื่อมีกำไรมากขึ้น มีคู่แข่งน้อยลง จึงต้องการ supply chain technology และ กระบวนการแบบใหม่ เพื่อผลักดันสินค้าออกสู่ตลาดได้เร็วขึ้นเพื่อสอดรับกับกลยุทธ์การเจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เขาต้องการการควบรวมและกระจาย SC และ Logistics เพื่อสนับสนุนสินค้าต่าง ๆ ให้เกิดคุณค่าในยี่ห้อต่าง ๆ สูงสุด
- เทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมนั้นไม่เหมาะสม เช่น วันหนึ่ง ๆ มีรถบรรทุกสินค้าเข้ามา 400 คันในขณะที่มีที่จอดเพื่อขนส่งสินค้า 150 คันเท่านั้น ทำให้หลาย ๆ ร้านค้าไม่ได้รับสินค้าไปจำหน่ายตรงเวลา ผู้วางแผนมีข้อมูลที่ต้องการไม่ครบถ้วน ไม่มีใครรู้ว่า รถเข้ามาจากที่ไหน และจะออกไปส่งสินค้าที่ใด SC ไม่สอดรับ (Synchronize) กัน ท้ายที่สุด สินค้าคงคลังบางเวลาก็มีประมาณมากเกิน บางเวลาก็ไม่เพียงพอ

Solution:
- บริษัทได้ทำโครงการเพื่อเปลี่ยนจาก Legacy system ไปเป็น integrated, high-visibility supply chain platform โดยใช้ IT ระบบใหม่ของ TIBCO’s EAI (Enterprise Application Integration) ซึ่งถูกดัดแปลงให้เข้ากับความต้องการของบริษัท หลังจากนั้นก้ได้เพิ่มตัวอื่น ๆ เข้ามา เช่น Manugistic (SCM), ERP เป็นต้น

Results:
- ปี 2004 เพิ่มยอดขายเป็น 530$/ตารางฟุต (ปี 2001 ได้ 468$) ปี 2006 มีรายได้เพิ่มขึ้น 10% Business process ได้รับการปรับปรุง

9.1 Interorganizational Activities and Order Fulfillment
- On-demand enterprise and real-time operations
- On-demand enterprise จะอยู่บนพื้นฐานของคำสัญญาว่าจะผลิต (หรือให้บริการ)เมื่อได้รับคำสั่งซื้อ ซึ่งจะมีความหมายทำนองเดียวกับ build-to-order หรือ mass customize (และจะตรองข้ามกับ produce-to-stock)
- On-demand and real time กระบวนการแบบ on-demand หมายถึง ไม่มีขั้นตอนการผลิตใดเกิดขึ้นล่วงหน้า (ahead) หรือ ล้าหลัง (behind) ทั้งหมดจะเกิดขึ้นเพื่อสนอง ตอบข้อกำหนด (condition) ในเวลาจริง (real time) เท่านั้น ดังนั้น จึงไม่มี backorders, safety stock, lag time, excess inventory
สองแนวความคิดนี้ ถือเป็นการปฏิวัติ Supply chain ทีเดียว

Interorganizational Activities
Common activities ที่เกิดขึ้นระหว่าง (between) หรือท่ามกลาง (among) business partner ได้แก่
1) Buying and Selling
2) Joint venture
3) Collaboration
4) Other Activities
การปรับปรุง Interorganizational activities จะสัมพันธ์กับ Supply chain
Overview of order fulfillment
- Order fulfillment
- Order fulfillment
- Back-office operation
- Front-office operation (หรือ customer-facing activities)
- Logistics
- ตามนิยามนี้หมายรวมไปถึง inbound, outbound, internal และ external movement รวมไปถึงการส่งวัตถุดิบและสินค้ากลับคืน และ รวมไปถึง order fulfillment อีกด้วย
- ปัจจัยหลักของ order fulfillment คือ ทำการจัดส่งสินค้าหรืองานบริการให้ตรงเวลา (right time) ถูกสถานที่ (right place)ในราคาที่เหมาะสม (right cost)

The EC Order Fulfillment Process



1) มั่นใจว่าลูกค้าจะจ่ายเงิน
2) ตรวจสอบดูว่ามีของใน stock หรือไม่
3) ถ้ามีของ จัดเตรียมการส่งของ
4) ประกันความเสียหาย
5) กระตุ้นเพื่อเติมให้เต็ม
6) ทำการผลิต In-house
7) ใช้ Supplier
8) ติดต่อลูกค้า
9) รับของคืน (reverse logistics)

ปัญหาและทางแก้
1) Delays in transportation/shipments
2) Human errors in information sending
3) Misunderstandings of orders
4) Over-or-understocked inventories
5) Shipments to wrong places or wrong quantities
6) Late or wrong reporting on delivery
7) Slow or incorrect billing
8) Difficult product/part configuration
9) Inability of IT systems of two organizations to “talk” to each other
10) High cost of expedites shipments

9.2 Interorganizational Systems (IOSs)
- Interorganizational System (IOS) ระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการไหล (flow)ของสาร สนเทศระหว่างสองแผนกหรือมากกว่า วัตถุประสงค์หลักคือ การประมวล transaction ต่างๆ ให้ได้ผลอย่างแท้จริง เช่น การจัดส่งใบสั่งซื้อ ใบเรียกเก็บเงิน และการจ่ายเงิน เป็นต้น
- IOS ได้รับการพัฒนามาเพื่อให้ตอบสนองโดยตรงต่อแรงกดดันทางด้านธุรกิจสองด้าน คือ (ในแง่ของการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศของพันธมิตรทางธุรกิจ) เพื่อเป็นการลดต้น ทุนต่างๆ และ เป็นการปรับปรุงประสิทธิผลกับลดเวลาที่ใช้ในกระบวนการทางธุรกิจ ต่างๆ
- ถ้า IOS ใช้การสื่อสารผ่านบริษัทสื่อสารใดๆแล้ว การสื่อสารนั้นๆเรียกว่า valued-added networks (VAN) ซึ่งเป็นแบบส่วนบุคคล

Types of Interorganizational Systems
รูปแบบของ Interorganization System ที่พบเห็นการบ่อยๆได้แก่
1) B2B trading systems ช่วยในการซื้อขายระหว่างพันธมิตรทางธรุกิจ
2) B2B support systems เป็นระบบที่ไม่เกี่ยวกับการค้าขาย เช่น Hub, directories หรือการให้บริการต่าง ๆ
3) Global systems ช่วยในการเชื่อมต่อบริษัทสองสามบริษัทที่อยู่คนละประเทศเข้าด้วย กัน
4) Electronic funds transfer (EFT) ข่ายการสื่อสารช่วยในการโอนเงินระหว่างสถาบัน การเงิน
5) Groupware ช่วยทางด้านการสื่อสารระหว่างองค์กร
6) Shared databases หมายถึง การใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน
7) Systems that support virtual corporations ระบบสนับสนัน virtual corporations

IOS Support Technology
IOS เทคโนโลยี หลักๆแล้วประกอบด้วย
1) Electronic data interchange (EDI)
2) Extranets
3) XML
4) Web services

Overview of IOSs




9.3 Global Information Systems
- Interorganizational systems ที่เชื่อมต่อบริษัทหลายๆบริษัทที่อยู่ในสองประเทศ หรือ มากกว่าเข้าด้วยกัน เรียกกันโดยทั่วไปว่า Global Information System
- Global Information System มักใช้กับ
1) Multinational company หมายถึงบริษัทที่ปฎิบัติงานอยู่ในหลายๆประเทศ เช่น Coke, McDonald’s, IBM เป็นต้น บริษัทเหล่านี้มี sale offices และ/หรือ production facilities อยู่ในหลายประเทศ ซึ่งมีพนักงานจำนวนมาก ค่าใช้จ่ายไม่แพง หรือ มีพนัก งานฝีมือสูงแต่เงินเดือนไม่มาก หรือ ตั้งอยู่ใกล้กับตลาด
2) International company ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกิจกับคู่ค้าที่อยู่ในหลายๆประเทศ เช่น Toyota ทำงานร่วมกับ supplier ในสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
3) Virtual global company ซึ่งเป็นบริษัทที่เกิดจากการร่วมมือกันจากหลายๆประ เทศ

Benefits of Global Information System
ประโยชน์หลักๆของ global information system ที่เกิดขึ้นโดย IT ได้แก่
1) มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในราคาที่สมเหตุสมผล ทำให้ผู้ร่วมงานที่อยู่ไกล กัน สามารถทำงานร่วมกัน ตัดสินใจ ดูการทำธุรกรรมต่างๆ และ ดำเนินการควบคุม พันธมิตรทางธุรกิจสื่อสารกันได้โดยใช้ e-mail, EDI และ extranet
2) มีการประสานงานกันเพื่อการชดเชยความแตกต่างกันทางด้านระยะทาง เวลา ภาษาและวัฒนธรรม การประสานงานทำได้ดีขึ้นโดยใช้ groupware software, group decision support system, extranet และ Teleconference devices
3) สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลของพันธมิตรทางงธุรกิจ และ สามารถทำงานในโครง การเดียวกันได้ แม้ว่าสมาชิกต่างๆ จะอยู่ต่างสถานที่กัน โดยทำผ่านทาง video conference และ screen sharing

Issues in global IS design
งานในการออกแบบ interorganization information system จะมีความซับซ้อนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ IOS เป็น Global system สิ่งที่ควรคำนึงได้แก่
1) ความแตกกต่างระหว่างวัฒนธรรรม (Cultural difference)
2) ท้องถิ่น (Localization)
3) เศรษฐกิจและการเมืองที่แตกต่างกัน (Economic and political differences)
4) ข้อกฎหมาย (Legal issues)
5) การออกแบบเวบไซต์สำหรับคนทั่วโลก (Designing Web Sites for a Global Audience)
6) Globalization and Offshoring of Software and Other IT Activities จะเกี่ยวกับ offshore outsourcing
7) Globalization and Personnel issues

Characteristic and problem along global supply chains
Global supply chains เป็นการรวม supplier และ/หรือ customers ในประเทศต่างๆ เอาไว้ด้วย บางเรื่องที่เกี่ยวกับ global supply chains ที่ควรระวังได้แก่:
1) เรื่องเกี่ยวกับกฎหมาย (legal issue)
2) ค่าธรรมเนียมและภาษีศุลกากร (customs fees and taxes)
3) ภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน (language and cultural differences)
4) การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของอัตราการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน (fast changes in currency exchange rates)
5) ความไม่มั่นคงทางการเมือง (political instabilities)

9.4 Facilitating IOS and Global Systems: From Demand-Driven Networks to RFID
- Supply chain แบบดั้งเดิมจะถุกผลักดันจากส่วนหลัง ในเชิง “driving products to market” โดยทำการพยากรณ์ความต้องการ ผลิตแล้วเก็บเข้าสต็อก (make-to-stock) แล้ว ผลักสินค้าออกสู่ตลาด(down stream) ไปยังลูกค้า
- ในทางกลับกัน demand-driven supply networks (DDSNs) จะถูกผลักดันโดยความต้องการของลูกค้า ถือเป็นการ pull เข้าสู่ตลาด (แทนที่จะเป็นการ push เข้าสู่ตลาดในแบบดั้งเดิม) ข้อดีของ DDSN ได้แก่
1) การพยากรณ์ความต้องการมีความแม่ยยำและรายละเอียด
2) ต้นทุนทางด้าน SC ลดต่ำลง
3) มองในเชิง perfect-order perfoพmance ได้รับการปรับปรุง
4) ลด จำนวนวันของ inventory ลง
5) Cash-to-cash (จ่ายเงินซื้อวัตถุดิบ จนขายสินค้าได้เงินกลับมา)ได้รับการปรับปรุง
6) มีแนวทางในเชิง customer-centric approach
7) ผู้เกี่ยวข้องใน SC จะเป็นส่วนหนึ่งในการปรับแต่งความต้องการให้เหมาะสม อันเป็นการลด bullwhip effect
8) จัดการกับความไม่แน่นอนได้ดีขึ้น (เช่นทำการจำลองแบบ และ วิเคราะห์เชิง “What if”
องค์ประกอบหนึ่งของ DDSN คือ real-time demand-driven manufacturing

Real-Time Demand-Driven Manufacturing (DDM)




Using RFID to improve Supply Chains






อีกตัวอย่างหนึ่งของ RFID




B2B Exchanges and Hubs
- การเปลี่ยนแปลงด้าน IT สองเรื่องที่ช่วยในการสื่อสาร การประสานงานกัน การซื้อ ขายขององค์กร คือ B2B exchanges และ Hubs.
- B2B exchanges เป็นได้ทั้งแบบ private (ผู้ซื้อรายหนึ่งกับผู้ขายหลายราย หรือ ผู้ขาย รายหนึ่งกับผู้ซื้อหลายราย) หรือ แบบ public (ผู้ขายหลายรายและผู้ซื้อหลายราย) การ สื่อสารและการทำธุรกรรมจะทำบน IOS ในส่วนของ public exchange, IOS จะอยู่ บน Internet หรือ VPN ก็ได้
- B2B exchange หลักๆแล้วจะใช้เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้าขายระหว่างบริษัท ส่วน Hub จะใช้เพื่ออำนวย ความสะดวกในการสื่อสารและการประสานงานกัน ระหว่างพันธมิตรทางธุรกิจ โดยทั่วไปจะตลอด supply chain
- Electronic Hubs โครงสร้างของ electronic hub จะเป็นดังรูปหน้าถัดไป
- Directory Services พบในรูปของ B2B Information portals ซึ่งมักประกอบด้วย catalogues ของ products ที่เสนอมาจากผู้ขายแต่ละราย รายนามของผู้ซื้อพร้อมสิ่งที่เขาต้องการ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ หรือสารสนเทศทั่ว ๆ ไป


9.5 Interorganizational Information Integration
Integrating the information system of merging companies
หลังจากการวิเคราะห์ถึง IT Integration พบว่า
1) ควรตั้ง IT leadership team เพื่อทำการ integration โดยตรง
2) ในแง่ของ customer-facing application ควนเลือกทางเลือกที่มี business integration risk ต่ำที่สุด
3) Customer-facing application ควรมีลำดับความสำคัญสูงกว่า back-office application
4) ควรมีการเสนอ retention package เพื่อรักษา top-talent IT เอาไว้ในองค์กร
5) บำรุงรักษาขวัญและกำลังใจของ IT
6) เพิ่มระดับความเสี่ยงของ Project risk ให้สูงขึ้น เพื่อบรรลุ business integration goal
7) เพิ่มสื่อที่ใช้ในการสื่อสารให้มากขึ้น เพื่อใช้เป็นเครื่องมือทำความเข้าใจถึงแรงบันดาลใจและแสดงถึงความสำเร็จ

- Facilitating integration
ขั้นตอนแรกของการทำ large-scale integration คือ การตรวจสอบ business process เพื่อทำความเข้าใจ แล้วทำการปรับปรุงถ้าจำเป็น ตอนนี้ IT จะเล่นบทสำคัญ หลังจากกระบวนการได้รับการปรับปรุงแล้ว จึงทำการวางแผนเกี่ยวกับ IT infrastructure
- Integrating IT Technologies
- Application ที่นำมาพิจารณาคือ data integration และ application integration
เช่น EDI, EDI/Internet, VAN, XML เป็นต้น


9.6) Partner Relationship Management and Collaborative Commerce

- Partner relationship management (PRM): คือ การทุ่มเทต่างๆที่สร้างขึ้น เพื่อนำเอา customer relationship management (CRM) มาใช้กับความสัมพันธ์ระหว่างพันธ มิตรทางธุรกิจต่างๆ
- Supplier relationship management (SRM): การทุ่มเทต่างๆที่สร้างขึ้น เพื่อนำเอา customer relationship management (CRM) มาใช้กับความสัมพันธ์ระหว่าง ซัพพลายเออร์


Collaborative Commerce
- Collaborative commerce หรือ c-commerce หมายถึง electronic transactions ที่ไม่ ใช่การซื้อขายที่เกิดขึ้นภายใน ระหว่าง(between) และ ท่ามกลาง(among) organizations ดังนั้น เมื่อมองแล้วมันจะเป็นไปในรูปของการสื่อสาร การใช้สารสนเทศร่วมกัน การร่วมมือกันผ่านทาง electronic โดยอาศัยซอฟท์แวร์เข้าช่วย เช่น groupware เป็นต้น
- Retailer- suppliers
- Product design
- Collaborative manufacturing

MANAGERIAL ISSUES
- Facilitating global trade
- Language translation เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญ
- Selecting a system.
- บริษัทต่าง ๆ ควรมีทางเลือก IOS infrastructure หลาย ๆ แบบจากหลาย ๆ vendors.
- Partners’ collaboration.
- IOS ต้องมีส่วนร่วมอย่างน้อยสององค์กรดังนั้นความร่วมมือกันถือเป็นเรื่องสำคัญ หลาย ๆ องค์กรล้มเหลวเรื่อง EDI เพราะการร่วมมือกันไม่ดีพอ ท่านอาจบังคับให้เกิดความร่วมมือจากคู่ค้าได้ (คือถ้าไม่ร่วมมือก็ไม่ต้องมาทำธุรกิจด้วยกัน)แต่ไม่ใช่สิ่งที่ดีนัก ท่านควรชักจูงให้เข้าร่วมมือในเชิงเป็นหุ้นส่วน (partner)ซึ่งกันและกัน ทำให้เขาเห็นถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแต่ละฝ่ายจะดีกว่า
- New infrastructures.
- XML, Web Services, และ เครื่องมือต่าง ๆ มักได้ประโยชน์เมื่อนำมาใช้ แต่มันก็ยังไม่ได้ถูกยอมรับกันทั้งหมด บางบริษัทเช่น Dell สามารถเป็นผู้นำในการใช้ new infrastructure ข้างต้น แต่บริษัทเล็ก ๆ อาจยังไม่นำมาใช้ (เพียงแต่เฝ้ามองและรอเวลา) อย่างไรก็ตามผู้บริหารต้องประเมินความเสี่ยงในการรอคอยในขณะที่คู่แข่งเคลื่อนไปข้างหน้า
- Globalization.
- เรื่องที่จะเป็น global หรือไม่ นั้นขึ้นกับว่าระบบสารสนเทศอะไรที่ต้องการเพื่อการสนับสนุนในการเป็น globalization เช่น multiple languages, different currencies, tax requirements, legal aspects, และ cultural considerations สิ่งเหล่านี้สะท้อนถึงการสนับสนุนจาก IT
- Using exchanges, hubs, and other services.
- สิ่งเหล่านนี้เป็นทางเลือกที่สร้างขึ้นภายหลังได้ เพราะว่า มี service provider หลายรายให้บริการด้าน IOS infrastructure นอกจากนั้นหลาย ๆ กรณีสามารถใช้ Internet เข้าช่วยได้ การใช้ third-party providers ทำให้ราคาถูกลงแต่ก็จะเสียความสามารถในการควบคุมระบบไป การเลือกระบบให้เหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญ
- Partner and supplier relationship management.
- ธุรกิจสมัยใหม่มักเพิ่ม partner มากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น การใช้การ outsourcing เป็นการเพิ่ม partner มากขึ้นอย่างแน่นอน

Appendix9A: Electronic Data Interchange (EDI)
- Traditional EDI
- EDI คือ มาตรฐานการสื่อสาร (communication standard) ที่ช่วยให้เกิดการถ่ายโอน แบบอิเลคทรอนิคส์สำหรับงานเอกสารที่ใช้เป็นประจำ (routine documents) ระหว่าง พันธมิตรทางธุรกิจต่างๆ
องค์ประกอบหลักๆของ EDI
- EDI translators
- Business transactions messages
- Data formatting standards การเข้ารหัสใน US และ Canadaใช้ ANSI X.12 หลาย ๆ แห่งใช้ EDIFACT

The Process of EDI คอมพิวเตอร์คุยกับคอมพิวเตอร์
- ข่าวสารจะถูกเข้ารหัส (coded) โดยการใช้ตามมาตรฐานเดียวกันทั้งด้านรับ และส่ง
- ข่าวสารที่ถูกเข้ารหัสแล้วจะวิ่งผ่าน Van หรือ Internet
- หลักจากได้รับข่าวสารแล้ว มันจะเปลี่ยนกับ(ถอดรหัส)มาเป็นภาษาทางธุรกิจ เหมือนก่อนเข้ารหัสโดยอัตโนมัติ

The Benefits of EDI
ประโยชน์ของกระบวนการนี้คือ:
- ความผิดพลาดอันเนื่องมาจากการป้อนข้อมูลลดลง
- ความยาวของข่าวสารสามารถทำให้สั้นลงได้
- ข่าวสารมีความปลอดภัย
- EDI เป็นตัวช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ทางด้านการประสานงานกัน

Other Benefits of EDI
- ลดวงรอบเวลา (cycle time)
- การบริหารจัดการสินค้าคงคลังดีขึ้น
- เพิ่มผลิตผล (productivity)
- ปรับปรุงการบริการลูกค้าได้ดีขึ้น
- ลดการใช้กระดาาและการจัดเก็บ
- เพิ่ม cash flow

Limitation of Traditional EDI
- ยังมีผู้ใช้น้อยเนื่องมาจากค่าใช้จ่ายสูง
- มีหลายมาตรฐาน ทำให้บริษัทหนึ่งอาจต้องใช้หลายแบบเพื่อรองรับการทำธุรกิจ กับคู่ค้า
- ควรเลือกใช้ Internet-based EDI

Internet-Based EDI
ทำไมต้องเป็น Internet-based EDI
1) Accessibility สามารถเข้าถึงได้ง่าย
2) Reach มีผู้ใช้มากจึงวิ่งไปสู่คู่ค้าได้กว้าง
3) Cost ต้นทุนต่ำเมื่อเทียบกับ VAN
4) Use of Web technology
5) Ease of use มีเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับ Internet มากมาย ทำให้สะดวกในการใช้งาน
6) Added functionality เพิ่มเติมฟังก์ชันทำได้ง่าย



Appendix 9B: Extranets, XML, and Web Services

Extranet: คือ เน็ตเวิร์คที่เชื่อมต่อพันธมิตรทางธุรกิจเข้าหากันผ่านทาง Internet เพื่อให้สามารถเข้าถึงพื้นที่ที่กำหนดไว้ใน corporate intranets ของแต่ละบริษัท



The Components, Structure, and Benefits of Extranets
Extranet ประเภทต่างๆ
1) A Company and Its Dealers, Customers, or Suppliers
2) An Industry’s Extranet
3) Joint Ventures and Other Business Partnerships
Benefits of Extranets

XML
- XML (eXtensible Markup Language) คือ simplified version ของ the general data description language, SGML ถูกนำมาใช้เพื่อปรับปรุงความเข้ากันได้ระหว่างระบบที่ แตกต่างกันของพันธมิตรธุรกิจทั้งหลาย โดยการนิยามความหมายของข้อมูลในเอกสาร ทางธุรกิจเอาไว้ก่อน
- XML ต่างจาก HTML
- HTMLใช้สร้างและแสดงข้อมูลบน Web-page ส่วน XMLใช้อธิบายข้อมูลและสารสนเทศ
- Benefit of XML
1) Flexibility
2) Understandability
3) Less specialized

Web services

Web services เป็นซอฟท์แวร์โมดูลทั่วๆไปเกี่ยวกับกระบวนการทางธุรกิจที่ได้กำหนด ไว้ก่อนแล้ว (จัดส่งให้ผ่านทาง Internet) ผู้ใช้สามารถเลือกโมดูลและนำมารวมกันได้ เพื่อให้สอดคล้องกับอุปกรณ์บนระบบหนึ่งๆที่แตกต่างกันกันออกไป เพื่อทำให้ระบบ ต่างๆเหล่านั้นสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น